คุ้นหูไหม Kanon เพลงที่ใช้กันจังในหนังโฆษณาของไทย เพลงบรรเลงเพราะๆน่าฟังเพลง Kanon ผมเคยฟังเพลงนี้ครั้งแรกตอนไปซื้อ CD ชุด December มาฟังตอนยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ฟังแล้วชอบด้วย เป็นอัลบั้มชุดที่ 4 ของ George Winston นักเปียโนแนวนิวเอจมิวสิค สังกัดค่าย Windham Hill ซึ่งเน้นผลิตผลงานเพลงแนวนิวเอจ New Age เป็นอัลบั้มที่ได้รางวัลมสากมาย รู้สึกว่าจะได้แกรมมี่ด้วย ตอนแรกผมคิดว่าเพลงนี้ George Winston เป็นผู้ประพันธ์ แต่พอค้นจากอินเทอร์เน็ตจึงพึ่งจะทราบว่าไม่ใช่ George Winston นำเพลง Kanon มาทำใหม่และตั้งชื่อเป็น Variations on the Kanon
มาช่วงไม่กี่ปีมานี้ผมเริ่มได้ยินเพลงนี้ในโฆษณาของไทยเรา เป็นโฆษณาที่เป็นเรื่องราวของเด็กสาวที่พิการทางการได้ยินอยากจะเล่นไวโอลิน
ปีนี้ได้ยินเพลงนี้อีก ถูกนำมาใช้ประกอบโฆษณาสองตัว อันแรกเป็นโฆษณาพี่อหัดขี่จักรยานเพื่อนำไปสอนลูก โฆษณาอีกชิ้นเป็นหนุ่มเล่นกีต้าร์ไฟฟ้า อันหลังนี้ผมลืมไปแล้วว่าเป็นโฆษณาสินค้าอะไร จึงไม่สามารถหาวีดีโอมาให้ชมได้(ใครรู้บอกด้วย) วันหนึ่งก่อนที่ผมจะตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ผมก็ไปได้ยินเพลงนี้เป็นเสียงเรียกเข้าในโทรศัพท์ตอนไปทำธุระในโรงพยาบาล เลยเอามาเขียนเลย
ผมเอามาให้ชมหลายๆแบบ จะได้ดูเปรียบเทียบกันว่าคุณชอบแบบไหน
George Winston - Variations on the Kanon
พ่อหัดขี่จักรยานเพื่อสอนลูกขี่จักรยาน
คนหูนวกเป็นใบ้เล่นไวโอลินประวัติของเพลง Kanon
ประวัติของเพลง Kanon
เพลง Canon หรือชื่อเก่าก็คือ Kanon เป็นผลงานการประพันธ์ของ Johann Pachelbel นักประพันธ์และนักออร์แกนในยุค Baroque (บาโรค)
Pachelbel คนนี้ เป็นนักประพันธ์ที่ Johan Sebastian Bach (บาค คนแต่งทำนอง A lover's concerto) ชื่นชอบและถือเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่าง
สำหรับ Kanon นี้ เป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาอย่างมาก ต้นฉบับนั้น Johann Pachelbel ประพันธ์ Kanon มา สำหรับให้เล่นด้วยเครื่องดนตรี 4 ชิ้นเท่านั้น คือ Violin 3 ตัว และ Continuo (สันนิษฐานว่า คือ Bass ในปัจจุบัน) มิใช่เป็นเพลงสำหรับเปียโนแต่อย่างใด และที่สำคัญ เพลงนี้ ในต้นฉบับ ทำนองซับซ้อนเกินกว่าจะเล่นด้วยเปียโนเพียงคนเดียวได้
ใน version ต้นฉบับ จุดเด่นของเพลงที่ถือเป็น "สิ่งมหัศจรรย์" อย่างนึงเลยทีเดียว ก็คือท่วงทำนองของเพลง จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่า Kanon เดิมให้เล่นด้วย Violin 3 ตัวและ Bass อีก 1 แนวเสียง Bass นั้นจะเล่นโน้ต 8 ตัว ซ้ำวนตลอดเพลง แต่ทีเด็ดของแนวทำนองของไวโอลินทั้งสามตัว เชื่อหรือไม่ว่า ทั้งสามตัวนั้น เล่นทำนองเดียวกันตลอด ! เริ่มเพลง แนว Bass เล่นเครื่องเดียว 4 ห้องเพลง ตามด้วย Violin 1 เล่นทำนองหลัก 4 ห้อง (เบส ยังเล่นทำนองเดิม)
หลังจากนั้น Violin 1 จะเล่นทำนองที่สอง และ Violin 2 จะนำทำนองที่ Violin 1 เพิ่งเล่นผ่านไปเมื่อ 4 ห้องที่แล้ว มาเล่นซ้ำ โน้ตเดิมทุกประการ และเมื่อ Violin 1 เล่นทำนองที่สาม Violin 2 ก็จะเล่นทำนองที่สอง (ที่ Violin 1 เพิ่งเล่นผ่านไป) และ Violin 3 ก็เล่นนำทำนองแรก (ที่ Violin 1 เล่นผ่านไปแล้ว 8 ห้องเพลง) มาเล่น และทั้งหมด ออกมาสอดคล้องกันราวกับเสียงสวรรค์ !!! มันซับซ้อนมากเกินกว่าจะเล่นด้วยเปียโนได้ (หมายถึงต้นฉบับเดิม)
คำว่า Canon ในทางดนตรี หมายถึงการเล่นวนซ้ำ เพลงนี้ ก็คือการนำทำนองของ Violin 1 มาเล่นซ้ำด้วย Violin 2 และ 3 นั่นเอง
ลองฟังดูดี ๆ จะพบว่า ทำนองมันซ้ำกัน แต่เล่นด้วยเครื่องดนตรีคนละเครื่อง เป็นเพลงที่เพราะมาก ในอดีต เคยใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Ordinary People มาก่อน และเร็ว ๆ นี้ก็มาประกอบ My Sassy Girl เพลงนี้ ของจริงต้อง Key D Major เพราะฉะนั้น เรามักจะได้ยินชื่อเพลงนี้เต็ม ๆ ว่า Kanon in D อยู่บ่อย ๆ
ขอบคุณข้อมูลประวัติของเพลงนี้จาก gracezone.org
Kanon เพลงที่คุ้นหูจังในหนังโฆษณาของไทย เพลงบรรเลงเพราะๆน่าฟัง
มาช่วงไม่กี่ปีมานี้ผมเริ่มได้ยินเพลงนี้ในโฆษณาของไทยเรา เป็นโฆษณาที่เป็นเรื่องราวของเด็กสาวที่พิการทางการได้ยินอยากจะเล่นไวโอลิน
ปีนี้ได้ยินเพลงนี้อีก ถูกนำมาใช้ประกอบโฆษณาสองตัว อันแรกเป็นโฆษณาพี่อหัดขี่จักรยานเพื่อนำไปสอนลูก โฆษณาอีกชิ้นเป็นหนุ่มเล่นกีต้าร์ไฟฟ้า อันหลังนี้ผมลืมไปแล้วว่าเป็นโฆษณาสินค้าอะไร จึงไม่สามารถหาวีดีโอมาให้ชมได้(ใครรู้บอกด้วย) วันหนึ่งก่อนที่ผมจะตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ผมก็ไปได้ยินเพลงนี้เป็นเสียงเรียกเข้าในโทรศัพท์ตอนไปทำธุระในโรงพยาบาล เลยเอามาเขียนเลย
ผมเอามาให้ชมหลายๆแบบ จะได้ดูเปรียบเทียบกันว่าคุณชอบแบบไหน
George Winston - Variations on the Kanon
พ่อหัดขี่จักรยานเพื่อสอนลูกขี่จักรยาน
คนหูนวกเป็นใบ้เล่นไวโอลินประวัติของเพลง Kanon
ประวัติของเพลง Kanon
เพลง Canon หรือชื่อเก่าก็คือ Kanon เป็นผลงานการประพันธ์ของ Johann Pachelbel นักประพันธ์และนักออร์แกนในยุค Baroque (บาโรค)
Pachelbel คนนี้ เป็นนักประพันธ์ที่ Johan Sebastian Bach (บาค คนแต่งทำนอง A lover's concerto) ชื่นชอบและถือเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่าง
สำหรับ Kanon นี้ เป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาอย่างมาก ต้นฉบับนั้น Johann Pachelbel ประพันธ์ Kanon มา สำหรับให้เล่นด้วยเครื่องดนตรี 4 ชิ้นเท่านั้น คือ Violin 3 ตัว และ Continuo (สันนิษฐานว่า คือ Bass ในปัจจุบัน) มิใช่เป็นเพลงสำหรับเปียโนแต่อย่างใด และที่สำคัญ เพลงนี้ ในต้นฉบับ ทำนองซับซ้อนเกินกว่าจะเล่นด้วยเปียโนเพียงคนเดียวได้
ใน version ต้นฉบับ จุดเด่นของเพลงที่ถือเป็น "สิ่งมหัศจรรย์" อย่างนึงเลยทีเดียว ก็คือท่วงทำนองของเพลง จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่า Kanon เดิมให้เล่นด้วย Violin 3 ตัวและ Bass อีก 1 แนวเสียง Bass นั้นจะเล่นโน้ต 8 ตัว ซ้ำวนตลอดเพลง แต่ทีเด็ดของแนวทำนองของไวโอลินทั้งสามตัว เชื่อหรือไม่ว่า ทั้งสามตัวนั้น เล่นทำนองเดียวกันตลอด ! เริ่มเพลง แนว Bass เล่นเครื่องเดียว 4 ห้องเพลง ตามด้วย Violin 1 เล่นทำนองหลัก 4 ห้อง (เบส ยังเล่นทำนองเดิม)
หลังจากนั้น Violin 1 จะเล่นทำนองที่สอง และ Violin 2 จะนำทำนองที่ Violin 1 เพิ่งเล่นผ่านไปเมื่อ 4 ห้องที่แล้ว มาเล่นซ้ำ โน้ตเดิมทุกประการ และเมื่อ Violin 1 เล่นทำนองที่สาม Violin 2 ก็จะเล่นทำนองที่สอง (ที่ Violin 1 เพิ่งเล่นผ่านไป) และ Violin 3 ก็เล่นนำทำนองแรก (ที่ Violin 1 เล่นผ่านไปแล้ว 8 ห้องเพลง) มาเล่น และทั้งหมด ออกมาสอดคล้องกันราวกับเสียงสวรรค์ !!! มันซับซ้อนมากเกินกว่าจะเล่นด้วยเปียโนได้ (หมายถึงต้นฉบับเดิม)
คำว่า Canon ในทางดนตรี หมายถึงการเล่นวนซ้ำ เพลงนี้ ก็คือการนำทำนองของ Violin 1 มาเล่นซ้ำด้วย Violin 2 และ 3 นั่นเอง
ลองฟังดูดี ๆ จะพบว่า ทำนองมันซ้ำกัน แต่เล่นด้วยเครื่องดนตรีคนละเครื่อง เป็นเพลงที่เพราะมาก ในอดีต เคยใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Ordinary People มาก่อน และเร็ว ๆ นี้ก็มาประกอบ My Sassy Girl เพลงนี้ ของจริงต้อง Key D Major เพราะฉะนั้น เรามักจะได้ยินชื่อเพลงนี้เต็ม ๆ ว่า Kanon in D อยู่บ่อย ๆ
ขอบคุณข้อมูลประวัติของเพลงนี้จาก gracezone.org
Kanon เพลงที่คุ้นหูจังในหนังโฆษณาของไทย เพลงบรรเลงเพราะๆน่าฟัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น